ทำความรู้จักสมาชิก
สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)
แต่ละชุด ในประวัติศาสตร์
การเมืองไทย

นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข

ประเทศไทยได้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นเพื่อมาร่างรัฐธรรมนูญแล้วจำนวนทั้งสิ้น 4 ชุด

............

ได้แก่
สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2491
สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2502
สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539
สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแต่ละชุดก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจแตกต่างกันออกไป

ELECT

ขอพาทุกคนทำความรู้จักสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ทั้ง 4 ชุด ในประเทศไทย ผ่านการนำเสนอด้วย 10 หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สสร. แต่ละชุด

พ.ศ. 2491

40 คน

พ.ศ. 2502

240 คน

พ.ศ. 2539

99 คน

พ.ศ. 2550

100 คน

หัวข้อที่ 1

ที่มาของ สสร.

ที่มาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) 4 ชุด ของประเทศไทย มาจากการเลือกตั้งโดยรัฐสภา 2 ชุด และการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ 2 ชุด ซึ่งยังไม่เคยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดใดที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

ที่มาของ สสร.
มีที่มาจากการเลือกตั้งโดยรัฐสภา 100%
มีที่มาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ 100%
หัวข้อที่ 2

ความหลากหลายของ สสร.

โครงสร้างของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) 4 ชุด ของประเทศไทย มีการแบ่งประเภทสมาชิกอย่างชัดเจน 2 ชุด และไม่มีการแบ่งประเภทสมาชิก 2 ชุด ซึ่งยังไม่เคยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดใดที่มีสมาชิกครอบคลุมคนทุกกลุ่มในประเทศไทย

ความหลากหลายของ สสร.
สสร.ชุดที่มีการแบ่งประเภทด้วยกฎหมาย
สสร.ชุดที่ไม่มีการแบ่งประเภทด้วยกฎหมาย
หัวข้อที่ 3

เพศสภาพกับ สสร.

โครงสร้างของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) 4 ชุด ของประเทศไทย มีสมาชิกที่มีเพศสภาพเป็นชายล้วน 2 ชุด และมีสมาชิกที่มีเพศสภาพเป็นชายและหญิง 2 ชุด แต่สมาชิกที่มีเพศสภาพเป็นหญิงนั้นมีในอัตราส่วนที่น้อยมาก

เพศสภาพกับ สสร.
สสร.ชุดที่มีสมาชิกเป็นเพศชายทั้งหมด
สสร.ชุดที่มีสมาชิกทั้งเพศชายและหญิง
หัวข้อที่ 4

สสร. มากกว่า 1 ครั้ง

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) หลายคน ได้เป็น สสร. มากกว่า 1 ครั้ง

หัวข้อที่ 5

สสร. ไม่ครบวาระ

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) หลายคน อยู่ไม่ครบวาระด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ เสียชีวิต และลาออก

หัวข้อที่ 6

สสร. กับนามสกุล

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) หลายคน มีนามสกุลเดียวกัน ทั้งที่อยู่ในสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดเดียวกันและสภาร่างรัฐธรรมนูญต่างชุดกัน

หัวข้อที่ 7

สสร. คนดัง

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) หลายคนเป็นที่รู้จักของสังคม เนื่องจากดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง หรือมีชื่อเสียงในสังคม

หัวข้อที่ 8

รัฐธรรมนูญที่ให้กำเนิด สสร.

สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่ละชุด มีต้นกำเนิดมาจากรัฐธรรมนูญต่างฉบับกัน

พ.ศ. 2491 เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว
คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2) ที่ประกาศใช้หลังการทำรัฐประหาร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
พ.ศ. 2502 เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว
คือธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 ที่ประกาศใช้หลังการทำรัฐประหาร เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
พ.ศ. 2539 เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญถาวร
คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 ซึ่งประกาศใช้แทนรัฐธรรมนูญชั่วคราว คือธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 ที่ประกาศใช้หลังการทำรัฐประหาร เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
พ.ศ. 2550 เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว
คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 ที่ประกาศใช้หลังการทำรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
หัวข้อที่ 9

ระยะเวลาร่างรัฐธรรมนูญของ สสร.

สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่ละชุดใช้ระยะเวลาไม่เท่ากันในการทำงานเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ

พ.ศ. 2491 167 วัน
นับตั้งแต่การประชุมครั้งแรก (12 กรกฎาคม พ.ศ. 2491) จนถึงการประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ (25 ธันวาคม พ.ศ. 2491) โดยประชุมไปทั้งสิ้น 81 ครั้ง
พ.ศ. 2502 2,507 วัน (ประมาณ 6 ปี 10 เดือน 10 วัน)
นับตั้งแต่การประชุมในฐานะสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก (30 มีนาคม พ.ศ. 2504) จนถึงการประชุมในฐานะสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511) โดยประชุมไปทั้งสิ้น 66 ครั้ง
พ.ศ. 2539 222 วัน
นับตั้งแต่การประชุมครั้งแรก (7 มกราคม พ.ศ. 2540) จนถึงการประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ (15 สิงหาคม พ.ศ. 2540) โดยประชุมไปทั้งสิ้น 30 ครั้ง
พ.ศ. 2550 180 วัน
นับตั้งแต่การประชุมครั้งแรก (8 มกราคม พ.ศ 2550) จนถึงการประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ (6 กรกฎาคม พ.ศ 2550) โดยประชุมไปทั้งสิ้น 40 ครั้ง
หัวข้อที่ 10

ชะตากรรมของรัฐธรรมนูญจาก สสร.

รัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นจากสภาร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 4 ชุด ล้วนไม่อยู่คงทนถาวร และถูกยกเลิกโดยการทำรัฐประหารทั้งสิ้น

พ.ศ. 2491 สร้างรัฐธรรมนูญอายุ 982 วัน (ประมาณ 2 ปี 8 เดือน 6 วัน)
คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 และถูกยกเลิกโดยการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
พ.ศ. 2502 สร้างรัฐธรรมนูญอายุ 1,247 วัน (ประมาณ 3 ปี 4 เดือน 28 วัน)
คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 และถูกยกเลิกโดยการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
พ.ศ. 2539 สร้างรัฐธรรมนูญอายุ 3,266 วัน (ประมาณ 8 ปี 11 เดือน 9 วัน)
คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 และถูกยกเลิกโดยการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2550 สร้างรัฐธรรมนูญอายุ 2,464 วัน (ประมาณ 6 ปี 9 เดือน)
คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และถูกยกเลิกโดยการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

รายละเอียดน่าสนใจเกี่ยวกับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 4 ชุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แสดงเห็นให้ว่า

"การทำให้สภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นกลไกทางประชาธิปไตยที่สามารถให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมได้เต็มที่และทั่วถึง เพื่อทำให้เกิดการร่างรัฐธรรมนูญที่คงทนถาวรและเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ยังคงเป็นโจทย์ใหญ่ที่สังคมไทยต้องร่วมกันขบคิดต่อไป"