“สภาร่างรัฐธรรมนูญ” คือสภาที่ประกอบไปด้วยกลุ่มบุคคลซึ่งเกิดขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ มักเกิดขึ้นภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้วเกิดความต้องการให้มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรทดแทน โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแต่ละชุดก็มีรายละเอียดปลีกย่อยและจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป
นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประเทศไทยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นเพื่อมาร่างรัฐธรรมนูญแล้วจำนวนทั้งสิ้น 4 ชุด ได้แก่ สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2491 สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2502 สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 และสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
แม้สภาร่างรัฐธรรมนูญจะถือเป็นหนึ่งกลไกที่มีบทบาทสำคัญเพื่อการร่างรัฐธรรมนูญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่เมื่อหากพิจารณาจากรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ที่มา โครงสร้าง หรือผลการทำงานของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 4 ชุด ก็จะเห็นว่ายังมีปัญหาอยู่หลายประการ เช่น ปัญหาเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกคนทุกกลุ่มในการร่างรัฐธรรมนูญอย่างเท่าเทียมและเสมอภาค ปัญหาเรื่องความมั่นคงต่อเนื่องของรัฐธรรมนูญที่ถูกร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
ELECT ขอพาทุกคนทำความรู้จักรายละเอียดเกี่ยวกับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 4 ชุด ในประเทศไทย ผ่าน “10 หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สสร.” เพื่อให้ทุกคนได้ร่วมกันคิดว่า หากในอนาคตจะต้องมีการใช้กลไกนี้ในการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 5 เราจะออกแบบสภาร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้การร่างรัฐธรรมนูญเป็นของประชาชนและประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงได้อย่างไร
ออกแบบ 👩🎨
ชาญ แสงวิโรจน์กุล
สืบค้นและรวบรวมข้อมูล 🕵️♀️
สิทธิกานต์ ธีระวัฒนชัย
บรรณาธิการ 👩🍳
ธนิสรา เรืองเดช
ประสานงานและจัดการอื่น ๆ 🧙♀️
ตรวจสอบ ติดตาม และร่วมพัฒนาโปรเจ็กท์ได้ทาง Github โค้ดบนเว็บไซต์ทั้งหมดถูกเปิดเผยแบบสาธารณะเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินการและพัฒนา และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา Civil Tech ในประเทศไทย หากคุณต้องการแบ่งปันทักษะด้านพัฒนาระบบ ออกแบบ รวบรวมข้อมูล หรือแบ่งปันข้อมูล รวมทั้งความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ สามารถติดต่อได้ที่ contact [at] elect.in.th
ELECT มีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจ็กต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้เงื่อนไข Creative Commons Attribution-ShareAlike License คือสามารถนำไปเผยแพร่และดัดแปลงได้ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน
หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง หรือมีข้อเสนอแนะใด ๆ สามารถติดต่อได้ที่ contact [at] elect.in.th