เกี่ยวกับโครงการ

ในปีพ.ศ. 2563 - 2564 เป็นปีที่เราคนไทย (น่า) จะได้เห็นการเลือกตั้งท้องถิ่นเกิดขึ้นครบทุกระดับและทุกจังหวัด หลังจากที่การมีส่วนร่วมกับ ‘ประชาธิปไตยใกล้มือ’ นี้ห่างหายไปเกือบทศวรรษ จากผลพวงของรัฐประหาร 2557 เมื่อมีวาระการเมืองท้องถิ่นทีไร ถ้อยคำอย่าง ‘บ้านใหญ่’ หรือ ‘ตระกูลเจ้าถิ่น’ ย่อมปรากฏขึ้นในหลายๆ พื้นที่

คงยากที่จะปฏิเสธเรื่องของ ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และการครองอำนาจของตระกูลใหญ่ ในระบบการเมืองไทย ในโปรเจ็กต์ ‘PoliticalNetwork’ ที่สุดของตระกูลการเมืองไทย ถิ่นไหน.. ใครครอง นี้ ทีมงาน ELECTจึงทดลองหยิบเอาข้อมูลของนักการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับประเทศมาหาความสัมพันธ์ในเชิงเครือญาติร่วมกับเชิงพื้นที่เพื่อแผ่ให้เห็นเครือข่ายของตระกูลต่างๆและระดับการแข่งขันในแต่ละพื้นที่ผ่านชุดข้อมูล

อย่างไรก็ตาม ทีมงานเองก็ไม่อาจเป็นผู้สรุปได้ว่า การมีเครือญาติ อำนาจ และอิทธิพลของตระกูลการเมืองเหล่านี้ สร้างผลกระทบหรือผลลัพธ์อย่างไรในแต่ละพื้นที่ ด้วยข้อจำกัดของข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้และข้อจำกัดในความเข้าใจบริบทในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเราหวังว่า อย่างน้อยข้อมูลเหล่านี้ อาจจะเป็นประโยชน์ให้ประชาชน สื่อมวลชน หรือกลุ่มคนที่จะก้าวสู่สนามการเมืองในแต่ละพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์ต่อไป

ในบรรดาข้อจำกัดทั้งหลาย อย่างหนึ่งที่เราเชื่ออย่างไร้ข้อจำกัดคือ ‘การเปิดเผยข้อมูล’ จะช่วยสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงานไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายหรือเครือญาติหรือไม่ รวมทั้งการเปิดโอกาสและพื้นที่ให้ประชาชนในพื้นที่ เข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางนโยบายและตัดสินใจในส่วนที่เกี่ยวข้อง ย่อมเป็นผลดีที่สุดสำหรับวิถีประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นการเมืองในพื้นที่ใด หรือระดับไหนก็ตาม

ที่มาและข้อจำกัดของข้อมูล

1. ข้อมูลเกี่ยวกับนักการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

• รายชื่อผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2555-2562 นำมาจาก ระบบข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีข้อจำกัดของข้อมูล ได้แก่

- ไม่มีข้อมูลฝ่ายบริหาร (นายก อบจ. และทีมงาน) ของจังหวัด เชียงใหม่, เชียงราย

• รายชื่อ นายก อบจ. และ ส. อบจ. ที่ได้รับเลือกในปีพ.ศ. 2563 มาจาก สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยมีข้อจำกัดของข้อมูล ได้แก่

- เป็นรายชื่อที่ กกต. ประกาศอย่างเป็นทางการ อัพเดทล่าสุดเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2564 ซึ่งในบางจังหวัดยังไม่มีการรับรองผลอย่างเป็นทางการ

- รายชื่อ ส. อบจ. ยังอยู่ในรูปแบบไฟล์ pdf (ภาพถ่าย) ซึ่งเป็นรูปแบบไฟล์ที่ไม่สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์และประมวลผลได้ทั้งหมด

• สังกัดพรรคของ นายก อบจ. และ สภา อบจ. ที่ได้รับเลือกในปีพ.ศ. 2563 มาจาก สังกัดสันนิษฐานของ Rocket Media Lab :

https://docs.google.com/spreadsheets/d/12E3aQGJ9E3ggXy4GYpRuI3lFDz9_CgEOQ01eaLFnBIg

• รายชื่อ ส.ส. และ ครม. (พ.ศ. 2535-2562) มาจาก

-

They Work for Us

-

Cabinet Dynasty

-

https://th.wikipedia.org/wiki/สภาผู้แทนราษฎรไทย

-

https://th.wikipedia.org/wiki/คณะรัฐมนตรีไทย

2. ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์และการแสดงความเห็นในโปรเจ็กต์

• โอฬาร ถิ่นบางเตียว. (2557). กลไกและกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองตนเองของท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, ปีที่ 6, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2557), หน้า 131-152.

วารสารสถาบันพระปกเกล้า (May 2013 - August 2013)

รู้ไหมผมลูกใคร? ชำแหละ ‘ตระกูลการเมือง’ สืบทอด-ผูกขาด-สูญพันธุ์ ในวัฏจักรประชาธิปไตยไทย – THE STANDARD

ตระกูลการเมือง กับ การลดต้นทุนของนักการเมือง (ตอนที่ 1)

ตระกูลการเมือง กับ การลดต้นทุนของนักการเมือง (ตอนที่ 2)

มองหาแก่น ‘ชนชั้นนำ’ สไตล์เซาธ์อีสเอเชีย อำนาจ นิยม ธุรกิจการเมือง และระบบอุปถัมภ์

เลือกตั้งท้องถิ่น : ว่าที่นายก อบจ. 76 จังหวัด ใครอยู่ใต้เงา “บ้านใหญ่” ใครคือหน้าใหม่ล้มแชมป์

การเลือกตั้ง อบจ.’63 บอกอะไรเรา

เอ็กซเรย์ ตัวเต็งนายก อบจ. เครือข่ายการเมือง-ธุรกิจ

หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา (suphan.biz)

ย้อนประวัติ "ปู่ชัย" จาก "กำนัน" เจ้าของโรงโม่ สู่จุดสูงสุด "ประธานสภาฯ"

เนวิน ชิดชอบ แห่งบุรีรัมย์จาก "นักเลงเซราะกราว" สู่ผู้มากบารมี

ฉากชีวิต ‘ไชยา’ บ้านใหญ่ ‘สะสมทรัพย์’

นักการเมืองถิ่น จังหวัดสุพรรณบุรี, สถาบันพระปกเกล้า

ตำนาน กลุ่มวาดะห์

บันทึก "อาคม เอ่งฉ้วน" ตราไว้ในแผ่นดิน ภารกิจส.ส.เพื่อ "กระบี่" บ้านเกิด

‘ผาด อังกินันทน์’ ต้นตระกูลการเมืองค่ายอังกินันทน์

สิ้นยุค "เดอะแป๋ง" "อังกินันทน์" ต้องไปต่อ?

รู้มั้ย 'ไตรศุลี' ลูกบ้านใหญ่ศรีสะเกษ

ลุงตู่..รู้จักมั้ย? “เจ๊สมทรง” บ้านใหญ่ “ยุดยา”

เครือข่ายอำนาจและการสะสมทุนในจังหวัดชัยนาท: วิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง

ประวัติศาสตร์และเครือข่ายอำนาจการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดอุดรธานี

ปิดตำนาน "กำนันเป๊าะ" สมชาย คุณปลื้ม เจ้าพ่อเมืองชล

นโยบายการนำข้อมูลไปใช้ต่อ

ELECT มีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจ็กต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้เงื่อนไข Creative Commons Attribution-ShareAlike License คือสามารถนำไปเผยแพร่และดัดแปลงได้ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน

หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง หรือมีข้อเสนอแนะใด ๆ สามารถติดต่อได้ที่ contact [at] elect.in.th

อาสาสมัครร่วมพัฒนา

เขียนโปรแกรม

MEEPOOH , pianpwk

ออกแบบ

น้ำใส ศุภวงศ์

สืบค้นและรวบรวมข้อมูล

pianpwk, ธนิสรา เรืองเดช, ศุภิสรา อิศรานุกูล

บรรณาธิการ

ธนิสรา เรืองเดช

ประสานงานและจัดการอื่นๆ

Punch Up

โปรเจกต์ Political Network ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ

ร่วมพัฒนาโครงการ

ตรวจสอบ ติดตาม และร่วมพัฒนาโปรเจ็กต์ได้ทาง Github โค้ดบนเว็บไซต์ทั้งหมดถูกเปิดเผยแบบสาธารณะเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินการและพัฒนา และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา Civic Tech ในประเทศไทย

กคุณต้องการแบ่งปันทักษะด้านพัฒนาระบบ ออกแบบ รวบรวมข้อมูล หรือแบ่งปันข้อมูล รวมทั้งความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ สามารถติดต่อได้ที่ contact [at] elect.in.th

ดาวน์โหลดข้อมูล