สรุปภาพรวม
Civil Movement 2020

ธ.ค.2562ธ.ค.2563 510152025 0 ครั้ง1 ก.ค. 2563

แบ่งเป็น 2 ฝ่ายหลัก ๆ

  1. ฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตย
  2. ฝ่ายอนุรักษ์นิยมปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์

ประเด็นที่เรียกร้อง

  1. เรียกร้องความยุติธรรม
  2. ขับไล่รัฐบาล
  3. แก้ไขรัฐธรรมนูญ
  4. ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์
  5. ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์
    และประเด็นย่อยอื่น ๆ เช่น เพศ การศึกษา ศาสนา สิ่งแวดล้อม สวัสดิการ
    รำลึกเหตุการณ์สำคัญ ฯลฯ

ลักษณะของ Movement

มีทั้งจัดเวทีใหญ่ + เวทีย่อย และแบบดาวกระจายจัดชุมนุมทั่วประเทศ ส่วนมากเป็นลักษณะการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ (การใช้ถ้อยคำ การชู 3 นิ้ว ฯลฯ) การพูดปราศรัยประเด็นต่าง ๆ การอ่านแถลงการณ์ รวมถึงกิจกรรมลักษณะอื่น ๆ เช่น กิจกรรมวิ่ง การแสดง Parody (ล้อเลียน) การแสดงดนตรี การแสดงพิธีกรรม การตั้งวงรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม การฝังหมุดคณะราษฎร ฯลฯ

ระยะเวลาของ Movement

ส่วนมากเป็นแบบ Flash mob จบใน 1 วัน หรือหากมีค้างคืน ก็ไม่เกิน 1 คืน และทำกิจกรรมต่อเนื่องในวันรุ่งขึ้น ยังไม่มีการชุมนุมระยะยาว

แนวโน้มความถี่ของการเกิด Movement

  1. เหตุการณ์ตัวเร่งที่ทำให้ปริมาณม็อบของฝั่งประชาธิปไตยเพิ่มขึ้น = การใช้ความรุนแรงจากภาครัฐ (สลายการชุมนุม) และการใช้อำนาจทางกฎหมายจากรัฐ (คดียุบพรรค ไล่จับแกนนำ ใช้กฏหมายอาญา หมวดความมั่นคง ฯลฯ)
  2. เหตุการณ์ตัวเร่งที่ทำให้ปริมาณม็อบของฝั่งอนุรักษ์นิยมเพิ่มขึ้น = การแตะต้องสถาบันประเด็นเรื่องพระมหากษัตริย์ (ทั้งการปราศรัย และการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์)

สาเหตุหลักของความรุนแรง

เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ

  1. การใช้อำนาจรัฐ - สลายการชุมนุม
  2. การใช้กำลังของเจ้าหน้าที่

    ฉีดน้ำแรงดันสูง

    น้ำผสมสี

    น้ำผสมแก๊ซน้ำตา

    กระสุนยาง

  3. การปะทะกันของมวลชน (ฝั่งคณะราษฎร vs ฝั่งมวลชนเสื้อเหลือง) รวมถึงมีความพยายามในการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงขึ้นจากบุคคลบางกลุ่ม (เช่น การใช้อาวุธปืน อาวุธระเบิด)

ความเคลื่อนไหวแบ่งเป็น 4 ช่วงหลัก ๆ

'19

11

12

'20

01

02

03

04

05

06

07

08

09

10

11

12

'21

01

4

ช่วงการเกิดกลุ่ม “คณะราษฎร 2563”

3

ช่วงการเกิดม็อบธรรมศาสตร์

2

ช่วงการเกิดม็อบ “ปลดแอก”

1

ช่วงกรณียุบพรรคอนาคตใหม่

แฟลชม็อบช่วงต้นปี (จากเหตุยุบพรรคอนาคตใหม่)

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การชงเรื่องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ และตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค ส่งผลต่อการออกมาแสดงพลังของประชาชน ซึ่งส่วนมากเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ ในการเรียกร้องหาสิ่งสำคัญพื้นฐานที่สุดในสังคม นั่นคือ “ความยุติธรรม” เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งมีฐานเสียงส่วนมากเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่พึ่งมีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งเมื่อช่วงเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2562 เป็นครั้งแรก ถือเป็นการผลักอุณหภูมิทางการเมืองที่คุกรุ่นออกจากรัฐสภาลงสู่ท้องถนนอย่างชัดเจน ประกอบกับการบริหารงานและภาพลักษณ์ของรัฐบาลที่ไม่ดีเพียงพอ และที่มาของรัฐบาลจากกลไกที่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจ อันบิดผันหลักการประชาธิปไตย ทำให้กระแสการต่อต้านรัฐบาลและการแสดงพลังของเยาวชนทวีความเข้มข้นอย่างเต็มเปี่ยมมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ผลพวงจากการแฟลชม็อบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงพลังและความคิดเห็นของของคนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่ยังทำให้ประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่แทรกซึมอยู่ในสังคม ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงในที่สาธารณะอีกด้วย

flashmob-diagram

อิทธิพลของม็อบ “ปลดแอก”

จากกรณีการบริหารงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ในกรณี COVID-19 ทำให้เกิดกรณีทหารอียิปต์ที่มีเชื้อหลุดเข้ามาพำนักที่ จ.ระยอง รวมถึงกรณีสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ ถดถอย จากมาตรการป้องกันและควบคุมโรคของรัฐบาล จนมีประชาชนหลายคนตัดสินใจจบชีวิตของตนเองลง การใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยอ้างเหตุ COVID-19 เพื่อเป็นเครื่องมือในการคุกคามและปิดปากประชาชนที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในกรณีต่าง ๆ เช่น กรณีอุ้มหาย “วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์” ผู้ลี้ภัยทางการเมืองชาวไทยในประเทศกัมพูชา รวมไปถึงที่มาของรัฐบาลอันสะท้อนถึงสืบทอดอำนาจผ่านกลไกในรัฐธรรมนูญ และกรณีอื่น ๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความไม่ยุติธรรม ความเหลื่อมล้ำ และความไม่เท่าเทียมกันในสังคม เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการออกมาแสดงพลังของประชาชนอีกระลอกหนึ่ง โดยมีข้อเรียกร้องหลักเพื่อขับไล่รัฐบาลทหารแปลงรูปนี้ออกไป รวมถึงร่วมกันแสดงเจตจำนงว่า จะต้องเกิดการแก้กลไกรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้เกิดการสืบทอดอำนาจได้ และเรียกร้องหลักประกันแก่ประชาชนที่ว่า จะต้องไม่มีการใช้มาตรการใด ไม่ว่าจะเป็นทางกฎหมายและอำนาจรัฐ ในการคุกคามผู้ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอีก นอกจากนี้ การเกิดขึ้นของม็อบ “เยาวชนปลดแอก” เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ซึ่งถือเป็นการชุมนุมใหญ่ที่สุดในรอบ 6 ปี ยังเป็นผลให้เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการรวมตัวของกลุ่ม “คณะประชาชนปลดแอก” การจัดม็อบของกลุ่มเสรีเทยพลัส การจัดม็อบของกลุ่มนักเรียนเลว ฯลฯ ซึ่งล้วนได้รับอิทธิพลมาจากนามแห่ง “การปลดแอก” จากการกดขี่ของโครงสร้างอันไม่เป็นธรรมทั้งหลายในสังคม ไม่ว่าจะในเรื่องเพศ การศึกษา ชาติพันธุ์ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ฯลฯ

freeyouth-diagram

อิทธิพลของม็อบธรรมศาสตร์

“การปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์” เป็นประเด็นที่ผู้คนมักจะไม่กล้าพูดถึงมาโดยตลอด ทั้งนี้เนื่องจากข้อจำกัดทางบทบัญญัติกฎหมายและสภาพสังคมที่ไม่เปิดโอกาสให้มีการถกเถียงเรื่องนี้ได้อย่างเปิดกว้างและปลอดภัย รวมไปถึงการสร้างบรรยากาศของความหวาดกลัวให้กับสังคมของรัฐ เพื่อทำให้ประชาชนไม่กล้าที่จะพูดคุยกันในเรื่องนี้อย่างทั่วไป ไม่ว่าในทางใด ๆ ก็ตาม แต่การชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2563 คือ "การเปิดเพดาน" เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแท้จริง 10 ข้อเรียกร้องที่ถูกอ่านโดยตัวแทนแกนนำนักศึกษาในนามกลุ่มแนวร่วม "ธรรมศาสตร์และการชุมนุม" ถือเป็นการส่งสัญญาณโดยตรงไปยังสถาบันพระมหากษัตริย์ว่า ประชาชนต้องการความเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเหตุการณ์อื่น ๆ หลังจากนั้น ไม่ว่าจะเป็นการฝังหมุดคณะราษฎร และความพยายามในการเดินขบวนไปยื่นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ ที่พระบรมมหาราชวัง ล้วนเป็นการทลายเพดานในการพูดถึงเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทยอย่างแท้จริง

thammasat-diagram

กลุ่มม็อบคณะราษฎร

การรวมตัวกันของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ (เช่น แนวร่วมธรรมศาสตร์ เยาวชนปลดแอก นักเรียนเลว) จนเกิดเป็นชื่อ “คณะราษฎร” ถือเป็นการยกระดับการเคลื่อนไหวของประชาชนอีกครั้งหนึ่ง ถือเป็นการใช้นามที่สะท้อนว่า ความหวังจะได้มาซึ่งประชาธิปไตยยังคงอยู่ในหัวใจของคนไทยเสมอมา โดยมีข้อเรียกร้องหลักในเรื่องการขับไล่นายกรัฐมนตรีและองคาพยพทั้งหลาย เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของประชาชน และเรื่องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แม้แรกเริ่ม คณะราษฎรจะถูกจัดตั้งขึ้นมาเป็นกลุ่มเพียงกลุ่มเดียว มีแกนนำที่ระบุตัวได้ชัดเจน แต่ภายหลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล และบริเวณแยกปทุมวัน นามของคณะราษฎรก็ถูกกระจายไปยังประชาชนทุกคน ตามที่แกนนำคณะราษฎรได้ลั่นวาจาไว้ว่า “ทุกคนคือแกนนำ” ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของประชาชนในทุกส่วนของประเทศอย่างพร้อมเพรียงกัน อย่างไรก็ตาม การยกระดับประเด็นแห่งการชุมนุมในเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ครั้งนี้ ทำให้เกิดความเห็นขัดแย้งจากมวลชนอีกฝั่งหนึ่ง ที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อแสดงพลังต่อต้านมวลชนฝ่ายคณะราษฎรเช่นกัน มวลชนกลุ่มนี้มักเรียกตัวเองว่าเป็นฝั่ง “ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์” และมักใช้ “สีเหลือง” เป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้เพื่อปกป้องสิ่งที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รวมถึงได้มีจุดยืนสำคัญในเรื่องการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างพร้อมเพรียงกันอีกด้วย

people-diagram

กลุ่มม็อบอื่น ๆ

นอกจากบรรดาการเคลื่อนไหวของประชาชนไทยทั้งในและนอกประเทศที่มีขึ้นเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยแท้จริงให้เกิดขึ้นในสังคมไทยแล้ว ยังมีการเคลื่อนไหวอื่น ๆ ของประชาชนไทยในประเด็นเฉพาะเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วย เช่น

+ การเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ หรือ ต้าร์ ผู้ลี้ภัยทางการเมืองชาวไทยที่ถูกอุ้มหายไปจากบริเวณหน้าอาคารพักอาศัยในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

wanchalearm-diagram

+ การรำลึกวันครบรอบ 88 ปี วันเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย

88year-diagram

+ การรำลึกเหตุการณ์สลายการชุมนุมและความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อปี พ.ศ. 2553

red shirt-diagram

+ การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสวัสดิการต่าง ๆ จากรัฐ เช่น สิทธิของผู้ประกอบอาชีพ สิทธิของผู้พิการ สิทธิในเงินประกันสังคม เป็นต้น

welfare-diagram

+ การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องในประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหา PM 2.5 ปัญหาการสร้างเหมือง ปัญหาโครงการเขตอุตสาหกรรมพิเศษ เป็นต้น

pm25-diagram

+ การเคลื่อนไหวเพื่อให้ได้มาซึ่งร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของประชาชนจากทางโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อประชาชน หรือ iLaw รวมถึงเครือข่ายภาคประชาชนและภาคประชาสังคมอื่น ๆ

ilaw-diagram

+ การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิและความเป็นธรรมของผู้หญิง

abortion-diagram

+ การเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุน Movement ของชาวต่างชาติ เช่น กลุ่ม Anti One China TH ที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยของคนฮ่องกง

antionechina-diagram

+ นอกจากนี้ยังมีชาวต่างชาติบางส่วนที่มีมุมมองสนับสนุนการเคลื่อนไหวของประชาชนในประเทศไทย ก็ได้ออกมาแสดงจุดยืนเช่นกัน เช่น กรณีของนายโจชัว หว่อง หรือกลุ่มสมาชิกวุฒิสภาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

foreign-diagram
สำรวจเอง

Share