Article


Content by

Goongging Thanisara

ติวก่อนสอบ ความรู้รอบตัวที่ควรรู้ก่อนเลือกตั้ง

เลื่อนไม่เลื่อน ยังไงก็ต้องได้เลือก! แต่จะไปเลือกนี่มีความรู้ความเข้าใจกันดีหรือยัง?

ลองทดสอบความรู้เรื่องเลือกตั้งกันที่ elect.in.th/election-101 แต่ถ้าใครยังได้คะแนนไม่ดี นี่คือชีทติวที่อยากแจกให้อ่าน เป็นการเตรียมตัวก่อนวันหย่อนบัตร เพราะนี่คือความรู้รอบตัวที่ควรรู้และต้องรู้ก่อนวันเลือกตั้งจะมาถึง!

 

1. บัตรเลือกตั้ง ส.. มีแค่ใบเดียว

รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กำหนดให้มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เพื่อเลือก ส..เขต กับ ส..บัญชีรายชื่อ แยกกัน หนึ่งเพื่อให้เลือก คนที่รักและพรรคที่ใช่แต่ผู้เขียนรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มองว่า วิธีเลือกตั้งแบบนั้นไม่สะท้อนคะแนนนิยมที่แท้จริง ของพรรคการเมือง ทำให้เกิด คะแนนเสียงตกน้ำเป็นจำนวนมาก จึงต้องเปลี่ยนวิธีเลือกตั้งเสียใหม่ ให้เหลือบัตรเลือกตั้ง ส..เขตเพียงใบเดียว แต่คะแนนที่เลือก ก็จะถูกนำไปคำนวณกับ ส..บัญชีรายชื่อด้วย

โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ จะมีจำนวน ส..ทั้งสิ้น 500 คน แบ่งเป็น ส..เขต 350 คน และ ส..บัญชีรายชื่อ 150 คน

ที่มา: รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 85 และ 91

 

2. ใครจะไปเลือกตั้ง ต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปีในวันเลือกตั้ง

เป็นการเปลี่ยนเกณฑ์อายุขั้นต่ำผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จากเดิมคือมีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง” (เช่นถ้าจะเลือกตั้งในปี 2562 อย่างน้อยๆ ก็ควรจะมีอายุครบ 18 ปี ตั้งแต่ปี 2561 แล้ว) มาเป็นมีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี ในวันที่มีการเลือกตั้งเพื่อขยายจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกไปอีก

ที่มา: รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 95(2) กับ พ...ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.. มาตรา 31(2)

 

3. เวลาเปิดคูหานานขึ้น 08.00 – 17.00 .

การเลือกตั้งในอดีต จะเปิดคูหาระหว่างเวลา 08.00 – 15.00 . ทำให้เกิดปัญหาว่าหลายๆ คนไปลงคะแนนไม่ทัน จึงมีการแก้กฎหมายขยายเวลาการปิดคูหา ให้ยาวไปจนถึง 17.00 . โดยผู้เกี่ยวข้องเชื่อว่าจะทำให้คนออกไปใช้สิทธิมากขึ้น

โดยการเลือกตั้งในอดีตที่มีจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิมากที่สุด ถึง 75% คือการเลือกตั้งปี 2554

ที่มา: ...ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.. มาตรา 86

 

4. ติดธุระวันเลือกตั้ง ไปขอเลือกตั้งนอกเขตล่วงหน้าได้

ถือเป็นหนึ่งวิธีอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการใช้สิทธิเลือกผู้แทนของตัวเองที่มีมานานแล้ว โดยผู้ที่ติดธุระจริงๆ ไม่อยู่ในภูมิลำเนา หรืออยู่ต่างประเทศในวันเลือกตั้ง แต่ยังอยากไปเลือกตั้งอยู่ สามารถไปลงทะเบียนขอ เลือกตั้งล่วงหน้า’ ‘เลือกตั้งนอกเขต หรือเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรได้

ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ กกต.จะประกาศออกมาอีกที

ที่มา: รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 95 วรรคสอง และ พ...ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.. มาตรา 105-115

 

5. ผู้สมัครพรรคเดียวกัน ข้ามเขต เปลี่ยนเบอร์

เป็นอีกสิ่งใหม่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ แม้จะย้อนยุคกลับไปอย่างน้อยยี่สิบปี ก่อนที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่บังคับให้ผู้สมัคร ส..เขตและผู้สมัคร ส..บัญชีรายชื่อ ต้องใช้หมายเลขประจำตัวเบอร์เดียวกัน จะประกาศใช้

แต่การเลือกตั้งในปี 2562 กกต.เขาบอกไว้ว่า ผู้สมัคร ส..เขตแต่ละคนจะต้องไปจับหมายเลขประจำตัวใหม่ทุกคน ทุกเขต ทั้ง 350 เขต ทำให้แม้เป็นผู้สมัครจากพรรคเดียวกัน พอข้ามเขตก็อาจจะใช้หมายเลขประจำตัวคนละเบอร์ เช่น ผู้สมัครจากพรรค ก. เขตนี้ใช้หมายเลข 1 อีกเขตใช้หมายเลข 44 อีกเขตอาจใช้หมายเลข 62 ก็เป็นไปได้

ส่วนผู้สมัคร ส..บัญชีรายชื่อ จะไม่มีหมายเลขประจำตัว เพราะคะแนนที่จะมาคำนวณ จะมาจากผู้สมัคร ส..เขตอีกที

ที่มา:...ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.. มาตรา 48

 

6. บัตรเลือกตั้ง ต้องมีเบอร์ชื่อพรรคโลโก้พรรค

หลังข้อเสนอของหัวหน้า คสช. ที่จะให้ตัดชื่อพรรคโลโก้พรรคออกจากบัตรเลือกตั้ง เหลือเพียงหมายเลขประจำตัว เผชิญกับเสียงคัดค้านจากทั่วสารทิศ ด้วยเหตุผลว่าอาจทำให้ประชาชนลงคะแนนผิด เพราะได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนเพียงพอ ที่สุด กกต.ก็ยินยอมที่จะให้มีข้อมูลเหล่านี้ในบัตรเลือกตั้ง ประกอบด้วย หมายเลขประจำตัว ชื่อพรรค และโลโก้ของพรรค

ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้สมัคร ส..เขตทุกคนจะต้องสังกัดพรรค ไม่สามารถลงอย่างอิสระได้

 

7. บัตรประชาชนหมดอายุ ก็ใช้แสดงตัวเลือกตั้งได้

หนึ่งในสิ่งที่ต้องพกติดตัวในวันไปลงคะแนน คือบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายและเลขบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อใช้ยืนยันตัวตนก่อนรับบัตรเลือกตั้ง และนำไปลงคะแนนในคูหา

และเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนยิ่งขึ้น ในกฎหมายก็ยังกำหนดไว้ว่า กระทั่งบัตรประชาชนที่หมดอายุแล้วก็สามารถนำมาใช้แสดงตนเพื่อลงคะแนนได้ด้วย สะดวกขนาดนี้ อย่างลืมไปลงคะแนนกันนะ!

ที่มา:...ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.. มาตรา 88

 

8. ห้ามขายเหล้า ตั้งแต่ 6 โมงเย็นก่อนวันเลือกตั้ง

เพราะการจำหน่าย จ่ายแจก หรือจัดเลี้ยงสุรา ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทุจริตการเลือกตั้งมาตั้งแต่อดีต การเลือกตั้งในยุคหลังๆ ก็เลยกำหนดไว้ว่า ห้ามขายเหล้าตั้งแต่เวลา 18.00 . ของวันก่อนวันเลือกตั้ง ไปจนถึงเวลา 18.00 . ของวันรุ่งขึ้น ใครฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ระวังกันให้ดี จะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้นะ

ที่มา:...ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.. มาตรา 147

 

9. ห้ามถ่ายรูปติดบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้ว

เราไปใช้สิทธิเลือกตั้งบางทีก็อยากให้คนรู้เนอะ แต่กฎหมายเขาห้ามถ่ายบัตรเลือกตั้ง ที่ได้ลงคะแนนแล้วเพราะเกรงว่าจะทำให้การลงคะแนนไม่เป็นความลับ ใครฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (หากว่าตามกฎหมายนี้ เราสามารถถ่ายรูปบัตรเลือกตั้งเปล่าๆ ได้ แต่เชื่อว่าหลายคนคงไม่อยากเสี่ยงเท่าไร)

ที่มา: ...ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.. มาตรา 97 และ 165

 

10. ทำ poll ได้ตลอดเวลา แต่ห้ามเผยแพร่ก่อนเลือกตั้ง 7 วัน

การสำรวจความคิดเห็น หรือ poll แทบจะเป็นของคู่กับการเลือกตั้ง เพราะผู้สมัครจะได้รู้ว่าตัวเองทำผลงานได้ดีแค่ไหน ส่วนประชาชนก็จะได้ลุ้นว่าใครนำใครตาม แต่ poll บางอย่างหากทำด้วยวัตถุประสงค์แอบแฝงก็อาจจะเป็นการชี้นำคนได้ กฎหมายเลยห้ามทำโพลที่มีลักษณะชี้นำ ทั้งนี้ การทำโพลสามารถทำได้ตลอดเวลา แต่ห้ามเปิดเผยก่อนหย่อนบัตร 7 วัน ใครฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่มา: ...ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.. มาตรา 72 และ 157

 

11. exit poll ก็ทำได้ รู้ผลทันที หลังปิดหีบ

การทำ poll หน้าหน่วยเพื่อสอบถามคนที่ลงคะแนนแล้ว หรือที่เรียกว่า exit poll สามารถทำได้ แต่จะเปิดเผยผลได้ก็ต่อเมื่อปิดหีบแล้วในเวลา 17.00 . เท่านั้น!

 

12. ใช้วิธีคำนวณ ส..แบบใหม่ จัดสรรปันส่วนผสมที่ค่อนข้างซับซ้อน

การเลือกตั้งครั้งนี้จะเปลี่ยนไปใช้ระบบจัดสรรปันส่วนผสม หรือ MMA ที่มีวิธีคำนวณ ส..ที่ค่อนข้างซับซ้อน โดยเราต้องตั้งต้นจากผลรวมคะแนน ส..เขตของพรรคนั้นๆ ทั่วประเทศก่อน เอาไปหารคะแนน ส..เขตของทุกพรรคทั่วประเทศรวมกัน (ไม่รวม Vote NO และบัตรเสีย) แล้วนำไปคูณ 500 ที่เป็นจำนวน ส..ทั้งหมด ก็จะได้จำนวน ..พึงมีของพรรคนั้นๆ แล้วนำไปหักลบกับจำนวน ส..เขตที่ชนะเลือกตั้งมาแล้ว ส่วนเกินที่เหลืออยู่ก็จะกลายมาเป็น ส..บัญชีรายชื่อนั่นเอง ไม่งงกันเนอะ ถ้างง ลองกลับไปอ่านกันอีกที

ที่มา: รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 83-93 และ พ...ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.. มาตรา 128-131 

 

13. Vote NO มีความหมาย ถ้าได้มากที่สุด ต้องเลือกตั้งใหม่

ผู้สมัครที่จะได้เป็น ส..ไม่เพียงต้องมีคะแนนเสียงชนะคู่แข่งทั้งหมด ยังต้องชนะจำนวนเสียงที่กาในช่อง ไม่เลือกผู้ใดหรือ Vote NO ด้วย ไม่เช่นนั้นเขตนั้นๆ จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ที่ผู้สมัครรายเดิมจะไม่สามารถกลับมาสมัครได้ เพราะประชาชนได้แสดงเจตจำนงแล้วว่า ไม่อยากเลือกผู้สมัครทั้งหมดที่เข้าแข่งขันในคราวนั้น

ที่มา: รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 85 วรรคสอง และ พ...ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.. มาตรา 125-126

 

14. ประกาศผล หลังเลือกตั้ง 60 วัน

แม้ exit poll จะทำให้พอรู้คะแนน ส..คร่าวๆ แล้ว แต่การประกาศผลอย่างเป็นทางการต้องรอไปอีก ไม่เกิน 60 วัน โดย กกต.จะต้องประกาศผลการเลือกตั้ง ส..เขตถึง 95% ก่อนจึงจะเริ่มคำนวณ ส..บัญชีรายชื่อได้

เดิมการประกาศผลอย่างเป็นทางการ กำหนดไว้ไม่เกิน 30 วัน แต่ครั้งนี้ขยายเวลาออกไปอีกเท่าตัวเพื่อให้ กกต.ได้ใช้เวลาตรวจสอบการเลือกตั้งว่ามีการทุจริตหรือไม่อย่างเต็มที่

 

15. ถ้าโกงเลือกตั้ง อาจได้ใบเหลือง ใบส้ม ใบแดง ไปจนถึงใบดำ

มาตรการปราบทุจริตในอดีตจะมีเพียงใบเหลืองกับใบแดงเท่านั้น แต่ปัจจุบันจะมีถึง 4 ใบ คือ ใบเหลืองให้เลือกตั้งใหม่ ใบส้มระงับสิทธิในการสมัคร (2 ใบแรกนี้ กกต.ให้ได้เอง) ส่วนใบแดงเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งระยะเวลาหนึ่ง ใบดำเพิกถอนสิทธิรับสมัครเลือกตั้งตลอดกาล (2 ใบหลัง ต้องให้ศาลฎีกาพิจารณา)

 

16. กลไกใหม่กันทุจริตผู้ตรวจการเลือกตั้ง

สิ่งใหม่ที่จะทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้บริสุทธิ์ยุติธรรมมากขึ้นก็คือ ผู้ตรวจการเลือกตั้งจังหวัดละ 5-8 คน ที่จะคอยสอดส่องว่าการเลือกตั้งในพื้นที่ใดมีปัญหาหรือไม่ ซึ่งเป็นกลไกที่ตั้งขึ้นมาแทน กกต.จังหวัด ที่ผู้เขียนกฎหมายมองว่าถูกแทรกแซงได้ง่าย

ที่มา: ...ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 28-31

 

17. นายกรัฐมนตรีไม่ต้องเป็น ส..ก็ได้

เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ต้องกำหนดไว้ว่าให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส..ด้วย แต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กลับไม่ได้บังคับไว้เช่นนั้น บอกไว้เพียงว่าคุณสมบัติของนายกฯ อาทิ มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ฯลฯ เป็นต้น

ที่มา: รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 158-160

 

18. พรรคการเมืองเสนอชื่อนายกฯ ได้ 3 คน

เลือกตั้งครั้งนี้ เราจะได้เห็นรายชื่อ candidate ที่พรรคการเมืองต่างๆ เสนอให้เป็นนายกฯ พรรคละสูงสุด 3 รายชื่อ โดยจะต้องเสนอในตอนที่เปิดรับสมัคร ส..เขต และบุคคลดังกล่าวจะต้องตอบรับมาเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย ผู้เขียนรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 อ้างว่า ที่กำหนดไว้เช่นนี้ ประชาชนจะได้เห็นหน้าตา candidate นายกฯ ที่แต่ละพรรคจะเสนอล่วงหน้า

ที่มา: รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 88-89

 

19. มี ส..แต่งตั้งมาร่วมโหวตเลือกนายกฯ ด้วย

บทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ที่เกิดขึ้นจากคำถามพ่วงในการทำประชามติ กำหนดให้ ส..ชุดแรก จำนวน 250 คน ซึ่งมาจาก ผบ.เหล่าทัพและมาจาการแต่งตั้งโดย คสช. มีสิทธิในการร่วมโหวตเลือกนายกฯ ได้เป็นระยะเวลา 5 ปี แปลว่าสามารถร่วมโหวตเลือกนายกฯ ได้อย่างน้อย 2 คน (เพราะนายกฯ แต่ละคนจะมีวาระดำรงตำแหน่งเพียง 4 ปีเท่านั้น)

 

20. นายกรัฐมนตรีมีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี

นายกรัฐมนตรีของไทยจะมีวาระดำรงตำแหน่งเพียง 4 ปีเท่านั้น เช่นเดียวกับ ส.. แต่สิ่งที่แปลกใหม่ก็คือ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ได้กำหนดไว้ว่า บุคคลใดจะเป็นนายกฯ ไม่ว่าจะกี่สมัยก็แล้วแต่ รวมกันเกิน 8 ปีมิได้