คุณรู้จัก ‘ข่าวปลอม’ ดีแค่ไหน?
เรากำลังอยู่ในยุคสมัยที่ถูกรายล้อมไปด้วยข่าวปลอมมากมาย ทั้งในเรื่องสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ รวมถึงการเมือง แต่คุณรู้ไหมว่า ข่าวปลอมหรือที่เราเรียกว่า Fake news กันนั้นมันก็ถูกจัดประเภทเอาไว้หลายรูปแบบเหมือนกันนะ
ELECT จึงขอชวนทุกคนไปสำรวจความเข้าใจ และตอบคำถามสนุกๆ เพื่อวัดความเข้าใจกันว่า ข่าวปลอมแต่ละรูปแบบนั้นมันมีความแตกต่างและส่งผลกระทบต่อเราในฐานะผู้รับสารกันอย่างไรบ้าง
อ่านก่อน! ลักษณะของ Fake news ใน 3 รูปแบบ มีดังนี้
➜ Misinformation = ข้อมูลเท็จที่เกิดจากการให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนหรือไม่ชัดเจน แต่ผู้ส่งสาร ‘ไม่มีเจตนา’ ให้ผู้อ่านเข้าใจผิด
➜ Disinformation = ข้อมูลเท็จที่ถูกสร้างขึ้นมาและผู้ส่งสารมี ‘เจตนา’ ให้ผู้อ่านเข้าใจผิด
➜ Malinformation = ข้อมูลที่มีพื้นฐานจากเรื่องจริงและเท็จ ผู้ส่งสารมี ‘เจตนา’ เพื่อหวังผลโจมตีผู้อื่นหรือสร้างความเกลียดชัง
เฉลย :
- A) Disinformation เพราะเป็นข้อมูลเท็จที่ไม่มีฐานความจริงอยู่เลย มีการอ้างแหล่งที่มาที่ไม่เป็นจริง และมี ‘เจตนา’ เพื่อสร้างความตื่นตระหนกและผลกระทบบ่างอย่าง
- B) Misinformation เพราะเป็นข้อมูลเท็จ แต่ไม่มี ‘เจตนา’ ที่จะสร้างความตื่นตระหนก ซึ่งผู้ส่งสารอาจเผยแพร่ออกไปด้วยความหวังดีและคิดว่ามันคือเรื่องจริง หากแต่ไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลว่ามันถูกต้องแค่ไหน
- C) Malinformation เพราะเป็นข้อมูลที่อาจเป็นพื้นฐานจริงและเท็จผสมกันก็ได้ แต่มี ‘เจตนา’ ที่ต้องการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิด สร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นทั้งในด้านภาพลักษณ์และเพื่อสร้างความเกลียดชัง
- B) Misinformation เพราะเป็นข้อมูลเท็จ แต่ไม่มี ‘เจตนา’ ที่จะสร้างความตื่นตระหนกหรือมุ่งร้ายต่อใคร ผู้ส่งข่าวอาจจะอ้างผิดบริบท โดยข้อเท็จจริงคือนี่เป็นข่าวเก่าตั้งแต่ปี พ.ศ.2558
- A) Disinformation เพราะเป็นข้อมูลเท็จ ที่ไม่มีฐานความจริงอยู่เลย และมี ‘เจตนา’ ที่จะสร้างความตื่นตระหนกและผลกระทบบ่างอย่างต่อตัวบุคคล
- C) Malinformation เพราะเป็นข้อมูลที่อาจเป็นพื้นฐานจริงและเท็จผสมกันก็ได้ แต่มี ‘เจตนา’ ที่ต้องการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิด สร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นทั้งในด้านภาพลักษณ์และเพื่อสร้างความเกลียดชัง กรณีนี้อัครเดชอาจมีกลิ่นปากจริงๆ แต่ถูกพัดชานำไปบิดเบือนเพิ่มว่าเขาไม่เคยแปรงฟันเลย ซึ่งตามความจริงแล้ว การมีกลิ่นปากอาจมาจากปัจจัยอื่นๆ ก็ได้