แพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นโดย mySociety องค์กรไม่แสวงหากำไรในสหราชอาณาจักร ด้วยความตั้งใจที่จะทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐบาลและรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรนั้น เข้าถึงและเข้าใจง่ายขึ้น พร้อมอำนวยความสะดวกให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบสมาชิกรัฐสภานั้นทำได้ง่ายขึ้น ไม่ตกเป็นภาระของประชาชน ELECT เองได้แรงบันดาลใจจากแพลตฟอร์มนี้ จนสร้างแพลตฟอร์ม They Work for Us ขึ้น พร้อมตั้งใจพัฒนาให้สมบูรณ์และเข้ากับบริบทของประเทศไทย แต่ยังคงติดปัญหาเรื่องการเข้าถึงและรูปแบบการเปิดเผยข้อมูล เราจึงหวังและเรียกร้องให้รัฐสภาไทยเปิดเผยข้อมูลที่มีระบบและใช้งานได้ง่าย เหมือนกับที่ mySociety ได้รับความร่วมมือในการเปิดเผยและส่งมอบข้อมูลจากรัฐสภาของสหราชอาณาจักรเอง เพื่อประโยชน์ของประชาชน
กลุ่ม Civic Tech ในไต้หวัน ที่รวมโปรแกรมเมอร์ นักออกแบบ NGOs ข้าราชการ ไปจนถึงประชาชนทั่วไป มาหาทางใช้เทคโนโลยีช่วยปัญหาทางการเมือง โดยมีการจัด Hackathon หรืองานสัมนาระดับนานาชาติเป็นประจำ จุดประสงค์คือการสร้างให้เกิดความโปร่งใสในการทำงานของรัฐบาล และสร้างความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างจริงจังโปรเจกต์ที่น่าสนใจได้แก่ Government Budget Visualization ที่เปลี่ยนตัวเลขงบประมาณจากภาครัฐในไฟล์เอกสาร PDF กว่าร้อยหน้า ให้เป็น Bubble Chart เพื่อให้ประชาชนเข้าใจง่ายและเห็นภาพว่ารัฐบาลใช้จ่ายเงินไปกับอะไรบ้าง สามารถเปรียบเทียบกับงบประมาณในอดีต หรือเปรียบเทียบระหว่างกระทรวงต่างๆ รวมถึงสามารถตั้งคำถามกับการใช้งบประมาณได้โดยตรง
Collaborative Fact Checking เกิดขึ้นจากการรวมตัวของภาคประชาสังคมในไต้หวัน ที่เชื่อในเรื่องพลังของภาคพลเมืองในการรับมือกับด้านมืดของข้อมูลข่าวสาร ด้วยการมีพื้นที่กลางในการให้ทุกฝ่ายมาช่วยกันค้นหาข้อเท็จจริง ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารเต็มไปด้วยความเข้าใจผิดแนวคิดของ Cofact เป็นการผสานการผลักดันการใช้เทคโนโลยีของภาคพลเมือง (Civic Tech) กับงานเชิงข่าวด้านวารสารศาสตร์ (Journalism) โดยมีกองบรรณาธิการร่วมกับอาสาสมัครในการกรองข่าว และเปิดพื้นที่ให้ทุกคนมาร่วมแลกเปลี่ยนโต้แย้งข้อเท็จจริงและแสดงความคิดเห็นได้ อีกทั้งมี Chatbot หรือโปรแกรมการพูดคุยอัตโนมัติที่เปิดให้ทุกคนมาส่งข่าวให้ทีมกลั่นกรองได้ด้วย ปัจจุบันแนวคิดและแพลตฟอร์ม Cofact ได้นำมาปรับและเปิดใช้ในประเทศไทยแล้ว
แพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทเทคโนโลยีขนาดเล็กในเบลเยียม แต่ทำงานร่วมกับรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่าร้อยแห่งใน 9 ประเทศทั่วโลก ด้วยการสร้างเครื่องมือที่ทำให้รัฐบาลรับฟังความคิดเห็นของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและตัดสินใจได้เหมาะสมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนโยบาย มาตรการ หรืองบประมาณตัวอย่างความสำเร็จก็อย่างเช่น การออกมาตรการเพื่อจัดการเรื่องระบบขนส่งใหม่ในบรัสเซลส์ จากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่เป็นผู้ใช้งานจริง หรือการออก Empty Homes Tax ตามที่ประชาชนเสนอ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องค่าเช่าบ้านและราคาที่อยู่อาศัยใน Vancouver
แพลตฟอร์มสำหรับสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ ที่สามารถเปิดพื้นที่ให้คนแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างสร้างสรรค์และรวบรวมเป็นข้อตกลงร่วมกันได้ ถูกนำไปใช้ในหลายๆ ประเทศทั่วโลก และในหลายระดับตั้งแต่ในสถานศึกษาไปจนถึงระดับรัฐบาล อย่างรัฐบาลไต้หวันก็ได้นำแพลตฟอร์มนี้ไปใช้ปลดล็อกบังคับใช้กฎหมายที่ติดค้างมานานหลายปี อย่างกฎหมายควบคุมแอลกอฮอล์หรือ Uberแพลตฟอร์มนี้มีความพิเศษกว่าพื้นที่สนทนาออนไลน์ทั่วไป ตรงที่เราไม่สามารถตอบกลับความคิดเห็นของคนอื่นได้ ทำได้เพียงโพสต์เสนอความคิดเห็นของตัวเอง และกดโหวตเท่านั้น จึงช่วยลดโอกาสที่จะเกิดการถกเถียงที่ไม่สร้างสรรค์ และยังมี AI ช่วยรวบรวมความคิดเห็นมาแสดงเป็นแผนภาพ ทำให้สามารถรวมกลุ่มผู้ที่มีความคิดเห็นคล้ายคลึงกันและตรงกันข้ามได้ และยังช่วยลดช่องว่างของความแตกต่างจนได้ข้อสรุปร่วมกันในที่สุด