การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปี 2562 มี ส.ส. จากสองระบบ คือ ระบบแบ่งเขตเลือกตั้งและระบบบัญชีรายชื่อแต่จะใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวให้ประชาชนกากบาทเลือกบุคคลที่ ชื่นชอบเป็น ส.ส. แบบแบ่งเขตแล้วคะแนนที่เลือกไปจะมีความหมายสี่ประการ
เพื่อตัดสินว่า คนที่ได้คะแนนสูงสุดในเขตการเลือกตั้งนั้น จะได้เป็น ส.ส. ตัวแทนของเขต
คะแนนที่เลือกจะถูกนำไปรวมกันทั้งประเทศเพื่อคำนวณจำนวนที่นั่งส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น
ส.ส. ทั้งจากระบบแบ่งเขตและระบบบัญชีรายชื่อ จะไปรวมกันเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนเราอีกชั้นหนึ่ง
ในการเลือกตั้งปี 2562 จะวัดกันระหว่างความนิยม คสช. กับความไม่นิยมคสช. ซึ่งประชาชนจะช่วยกันบอกด้วยว่าอยากได้อนาคตประเทศไทยแบบที่ผ่านมากว่าสี่ปีหรือไม่?
เมื่อเดินเข้าคูหาประชาชนจะได้รับบัตรเลือกตั้งคนละ 1 ใบ เพื่อกากบาทเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และคะแนนนั้นจะนำไปใช้คำนวณจำนวน ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่ออีกต่อหนึ่ง
ประชาชนไม่มีโอกาสที่จะเลือก“คนที่รัก”ที่มาจากคนละพรรคการเมืองกับ“พรรคที่ชอบ”เมื่อกากบัตรเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขตคนใด ก็เท่ากับลงคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อให้พรรคการเมืองนั้นด้วย
กติกาการเลือกตั้งครั้งนี้ เราจะได้เห็นรายชื่อผู้เข้าชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีก่อน เพราะพรรคการเมืองถูกบังคับให้ต้องเสนอรายชื่อพรรคละไม่เกิน 3 รายชื่อก่อนการเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนคาดหมายได้ว่า ถ้าพรรคการเมืองนั้นชนะการเลือกตั้งและได้จัดตั้งรัฐบาลจะเสนอใครเป็นนายกรัฐมนตรี ประชาชนก็ต้องดูให้ดีว่า อยากได้นายกรัฐมนตรีหน้าตาแบบไหน? จะได้เลือกได้ถูกต้อง
หากพรรคการเมืองใด ต้องการจัดตั้งรัฐบาลต้องหาเสียงสนับสนุนให้ได้มากกว่าครึ่งหนึ่งหรือ 376 เสียง หาก คสช. ต้องการจะเป็นรัฐบาลก็อาจต้องหาเสียงสนับสนุนแค่ 126 เสียง เมื่อรวมกับ ส.ว. ที่คัดเลือกมาเองอีก 250 เสียงก็จะได้ 376 เสียง ไม่ยากเย็น
คะแนนที่ประชาชนออกเสียงไปจะใช้ตัดสินกันโดยตรงเลย ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดในเขตเลือกตั้งนั้นๆ จะได้ที่นั่ง ส.ส. เป็นตัวแทนของเขตเลือกตั้งนั้นๆ เลย โดยไม่ต้องคำนึงว่า คนที่ได้คะแนนลำดับที่สอง และลำดับอื่นๆ จะได้คะแนนมากน้อยเพียงใด
Vote NO มีความหมาย ผู้สมัครที่จะได้เป็น ส.ส. ยังต้องชนะจำนวนเสียงที่กาในช่อง‘ไม่ประสงค์ลงคะแนน’ หรือ Vote NO ด้วย ถ้าแพ้ Vote NOเขตนั้นๆ จะต้องเลือกตั้งใหม่ โดยผู้สมัครรายเดิมไม่สามารถกลับมาสมัครได้อีก เพราะประชาชนได้แสดงเจตจำนง แล้วว่าไม่อยากเลือกผู้สมัครทั้งหมดที่เข้าแข่งขันในคราวนั้น
สูตรคณิตศาสตร์นี้ ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญมาตรา 91 และ กฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 128เป็นสูตรที่เขียนขึ้นเป็นครั้งแรกและจะทดลองใช้เป็นครั้งแรก โดยให้เอาคะแนนที่ประชาชนกากบาทเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขตของแต่ละพรรคการเมืองมารวมกันทั้งประเทศ แล้วคำนวณดังนี้
หากคิดคำนวณแล้วได้เศษเป็นทศนิยม ให้ใช้จำนวนเต็มก่อนยังไม่ต้องนับทศนิยม แต่ถ้าได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อยังไม่ครบ 150 คน ก็ให้พรรคการเมืองที่ได้ทศนิยมสูงสุด ได้ที่นั่งเพิ่มก่อน ไล่ไปตามลำดับ
สูตรการคำนวณเช่นนี้ มีข้อดี คือ ทำให้ทุกคะแนนที่ประชาชนออกเสียงไปมีความหมายแม้จะลงคะแนนให้กับผู้สมัครที่ไม่ชนะในเขตนั้นๆ คะแนนก็ยังถูกหยิบมาใช้ได้อีกชั้นหนึ่งแต่ก็มีข้อเสียคือ ระบบแบบนี้ก็ทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่เสียเปรียบ หากชนะการเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตจำนวนมาก ก็อาจจะได้ ส.ส. จากระบบบัญชีรายชื่อน้อยมาก หรือไม่ได้เลยขณะที่พรรคการเมืองขนาดกลางๆ ที่มีฐานเสียงแข็งแรงเฉพาะในบางพื้นที่ อาจจะได้ ส.ส.จากระบบบัญชีรายชื่อมากกว่าความนิยมของประชาชนที่มีอยู่จริงๆ