บทที่ : 3
สำรวจจุดยืน
พรรคการเมือง

สำรวจจุดยืนพรรคการเมือง ใครอยู่ไหนในสนามเลือกตั้ง 62

รายชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรีของแต่ละพรรคการเมือง

สำรวจจุดยืนพรรคการเมือง
ใครอยู่ไหนในสนามเลือกตั้ง 62

การเลือกตั้งปี 2562 ใช้ระบบจัดสรรปันส่วนผสม หรือระบบ MMA มีจุดเด่นสำคัญอยู่ที่ การใช้บัตรเลือกตัั้งใบเดียว เลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และคะแนนจะถูกนำมาใช้คิด ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคที่กาไปด้วย

ในสนามการเลือกตั้งนี้ คสช. เตรียมส่งพรรคการเมืองของตัวเองลงสนามเพื่อหวังสืบทอดอำนาจต่อส่วนพรรคการเมืองที่มีจุดยืนตรงข้ามกับ คสช. ก็รอโอกาสเลือกตั้งเพื่อทวงอำนาจและประชาธิปไตยคืน

ตามระบบใหม่ ถ้าพรรคใดได้ ส.ส. แบบแบ่งเขตมากก็จะได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อน้อยหรืออาจไม่ได้เลย และถ้าพรรคการเมืองใดได้ ส.ส. แบบแบ่งเขตน้อยหรือไม่ได้เลยก็อาจได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อมากระบบนี้ทำให้พรรคขนาดใหญ่ ได้รับผลกระทบมากหากส่งผู้สมัครลงทุกเขตและชนะเยอะ ก็อาจจะได้ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อน้อย เราจึงเห็นปรากฏการณ์ที่ ส.ส. จากพรรคเพื่อไทยย้ายไปสังกัดพรรคที่เกิดใหม่หลายพรรค นี่อาจเป็น ยุทธศาสตร์“แยกกันเดินร่วมกันตี”

ด้านพรรคขนาดกลาง อย่างเช่น พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา ฯลฯ มีแนวโน้มจะได้ส.ส. เพิ่มขึ้น จากระบบนี้ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ นับเป็นหนึ่งตัวแปรในการร่วมจัดตั้งรัฐบาลแต่พรรคการเมืองเหล่านี้ก็ยังมีจุดยืนที่ไม่ชัดเจนว่า จะเข้าร่วมกับฝั่งไหน

ขณะที่ยังมีพรรคการเมืองเกิดขึ้นใหม่หลายพรรค ส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับอุดมการณ์ที่ชัดเจนถ้าไม่สนับสนุน คสช. สุดทาง ก็เสนออนาคตประเทศแบบตรงกันข้ามกับ คสช. ไปเลย      

ระบบเลือกตั้งใหม่จะทำให้พรรคขนาดใหญ่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ เพราะการเลือกนายกรัฐมนตรี ต้องใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา คือ 376 เสียง จาก 750 คน ดังนั้น หนทางที่พรรคการเมืองจะสามารถชนะการสืบทอดอำนาจของ คสช. ได้ ประชาชนต้องเลือก ส.ส. จากพรรคที่มีจุดยืนไม่เข้าร่วมกับ คสช. ให้เกิน 376 คน และผนึกกำลังกันเพื่อจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากประชาชน ขณะที่คสช. มี ส.ว.แต่งตั้งเป็นทุนเดิมอยู่ 250 เสียง ต้องการ ส.ส. อีก 126 เสียง ก็จะตั้งรัฐบาลสืบทอดอำนาจต่อไปได้

เราจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาว่า ส.ส. แบบแบ่งเขตที่เราจะกากบาทเลือก สังกัดอยู่พรรคไหน และพรรคนั้นมีจุดยืนต่ออนาคตอย่างไร มาลองดูกัน

พรรคที่เคยทำงานร่วมกับ คสช.

พรรคในกลุ่มนี้เป็นพรรคที่แกนนำพรรคคนสำคัญ เคยทำงานร่วมกับ คสช. บางคนเป็นรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปประเทศ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ฯลฯ

พรรคพลังประชารัฐ

พรรคพลังประชารัฐ(ตัวย่อพปชร.) พรรคเกิดใหม่ ที่สนับสนุนให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชากลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีแกนนำคนสำคัญล้วนเป็นรัฐมนตรีในยุคของ คสช. อย่างอุตตม สาวนายน รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหัวหน้าพรรค, สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นรองหัวหน้าพรรค, สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.กระทรวงพาณิชย์เป็นเลขาธิการพรรค และมี กอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นโฆษกพรรค แถมชื่อพรรคก็ยังไปตรงกับนโยบายหลักของ คสช. คือ“โครงการประชารัฐ”ที่ขึ้นป้ายโดดเด่นอยู่ทั่วทุกหมู่บ้านของประเทศไทย

สมาชิกพรรคพลังประชารัฐมีอดีต ส.ส. และอดีตรัฐมนตรี จากพรรคเพื่อไทย, พรรคประชาธิปัตย์และแกนนำ กปปส. ร่วมอยู่ด้วย ช่วงเริ่มก่อตั้งถูกวิจารณ์ว่า เดินสายดูดนักการเมืองจากค่ายต่างๆ แกนนำพรรคอย่าง สมศักดิ์ เทพสุทิน เคยกล่าวว่า“รัฐธรรมนูญฉบับนี้ดีไซน์มาเพื่อพวกเรา” จึงมั่นใจว่าหลังเลือกตั้งพรรคจะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแน่นอน

พรรคประชาชนปฏิรูป

พรรคประชาชนปฏิรูป(ตัวย่อปชช.) พรรคเกิดใหม่ที่มี ธนพัฒน์ สุขเกษม เป็นผู้ยื่นจดแจ้งและมี ไพบูลย์ นิติตะวัน อดีต สปช. เป็นหัวหน้าพรรค มีจุดยืนชัดเจนประกาศ สนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง

พรรครวมพลังประชาชาติไทย

พรรครวมพลังประชาชาติไทย(ตัวย่อรปช.) พรรคเกิดใหม่ ในยุค คสช. ที่มี ทวีศักดิ์ณ ตะกั่วทุ่ง ทนายความส่วนตัวของ สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้จดทะเบียน และ สุเทพเทือกสุบรรณ ประกาศตัวเป็นสมาชิกเดินเคียงข้างพรรคนี้ โดยมี ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุลหรือ“หม่อมเต่า”เป็นหัวหน้าพรรค และมี อเนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ของ คสช. เป็นมันสมองของพรรค สมาชิกส่วนหนึ่งของพรรคเป็น กปปส. และมีท่าทีชัดเจนเห็นด้วยกับแนวทางการบริหารประเทศของ คสช. และมีแนวโน้มว่าจะสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ และคนของ คสช. เป็นนายกรัฐมนตรี

พรรคเพื่อไทย และเครือข่าย

กลุ่มพรรคเพื่อไทย และพรรคเครือข่าย ที่มีทั้ง แกนนำ และ ส.ส. แยกตัวออกมาจากพรรคเพื่อไทย ประกาศจุดยืนเพื่อประชาธิปไตย และไม่เอาแนวทางแบบ คสช. จุดขาย คือประสบการณ์ที่เคยทำงานการเมืองและผลักดันนโยบายสำคัญๆ ได้สมัยที่เคยเป็นรัฐบาล

พรรคเพื่อไทย

พรรคเพื่อไทย(ตัวย่อพท.) เป็นพรรครัฐบาลล่าสุดก่อนถูก คสช. ยึดอำนาจในปี 2557จุดยืนของพรรคชัดเจนว่า ตรงข้ามกับ คสช. สืบทอดเจตนารมณ์มาจากพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชนที่ถูกสั่งยุบพรรคไปจากความขัดแย้งทางการเมืองในทศวรรษที่ผ่านมา

ตำแหน่งหัวหน้าพรรค คือ พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ และมีภูมิธรรม เวชยชัย เป็นเลขาธิการพรรค ขณะที่สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังมีแกนนำพรรคคนสำคัญ เช่น เสนาะ เทียนทอง, โภคิน พลกุล,เฉลิม อยู่บำรุง, วัฒนา เมืองสุข ฯลฯ

เลือกตั้งครั้งนี้พรรคเพื่อไทยขายสโลแกน“นักบริหารมืออาชีพ”เพื่อพาประเทศไทยออกจากความสิ้นหวังในยุค คสช. และสร้างโอกาสให้คนไทยหายจน สำหรับผู้ท้าชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรี จากพรรคเพื่อไทยคาดว่าจะเป็น สุดารัตน์ เกยุราพันธ์ุ และชัชชาติ สิทธิพันธุ์อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

พรรคไทยรักษาชาติ

พรรคไทยรักษาชาติ(ตัวย่อทษช.) เกิดจากแกนนำหลายคนที่เคยอยู่กับพรรคเพื่อไทย, แกนนำนปช. คนรุ่นใหม่ที่เป็นลูกหลานนักการเมือง หัวหน้าพรรค คือ ปรีชาพล พงษ์พาณิช และมี มิตติ ติยะไพรัชเป็นเลขาธิการพรรค แกนนำคนสำคัญอื่นๆ เช่นเยาวเรศ ชินวัตร, ขัตติยา สวัสดิผล และ ยังสมทบด้วยนักการเมืองรุ่นใหญ่ เช่น จาตุรนต์ ฉายแสง,พิชัย นริพทะพันธุ์, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ฯลฯ ทั้งนี้ตัวย่อของพรรคถูกตั้งข้อสังเกตว่าคล้ายชื่อ“ทักษิณ ชินวัตร”

พรรคเพื่อชาติ

พรรคเพื่อชาติ(ตัวย่อพช.) ถูกมองว่า เป็นพรรคของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)โดยมีแกนนำคนสำคัญ คือยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานรัฐสภา และ จตุพรพรหมพันธุ์ ประธาน นปช. ทั้งนี้ ยงยุทธ และจตุพรไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ เพราะเคยรับโทษจำคุก พรรคเพื่อชาติมีหัวหน้าพรรค คือ สงครามกิจเลิศไพโรจน์ อดีต ส.ส. พรรคพลังประชาชนและมี ลินดา เชิดชัย อดีต ส.ส. พรรคเพื่อไทย เป็นเลขาธิการพรรค

พรรคประชาชาติ

พรรคประชาชาติ(ตัวย่อปช.) นำโดย'กลุ่มวาดะห์'ซึ่งแยกตัวออกจากพรรคเพื่อไทยมียุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำโดยวันมูหะมัดนอร์ มะทา นอกจากนี้ยังมีแกนนำพรรคคนสำคัญ อย่าง อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์, วรวีร์ มะกูดีอดีตกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย เป็นรองหัวหน้าพรรค, พล.ต.อ.ทวี สอดส่อง อดีตเลขาธิการ ศอ.บต.เป็นเลขาธิการพรรค

พรรคการเมืองหน้าใหม่ ไม่เอา คสช.

“พรรคการเมืองหน้าใหม่” จำนวนหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีจุดยืนชัดเจนว่า ไม่เอา คสช.คนส่วนใหญ่ในประเทศอาจจะยังไม่คุ้นชื่อ ทั้งชื่อพรรค และชื่อคน ด้วยข้อจำกัดของกติกาการเลือกตั้งใหม่ ทุกพรรคจะต้องส่ง ส.ส. ลงระบบเขตเลือกตั้งให้มากที่สุด เพื่อนำมาคิดเป็นจำนวนที่นั่ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ นับเป็นความท้าทายว่า พรรคเหล่านี้จะสามารถคว้าที่นั่งในสภาได้เท่าไหร่

พรรคอนาคตใหม่

พรรคอนาคตใหม่(ตัวย่ออนค.) เป็นพรรคการเมืองแรกๆ ที่ชูจุดยืน“คนรุ่นใหม่”ภายใต้การนำของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หรือฉายา“ไพร่หมื่นล้าน”อดีตรองประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท และปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรค อดีตนักวิชาการคณะนิติราษฎร์ จุดเด่นของพรรคนี้ เป็นการรวมตัวกันของนักวิชาการ นักกิจกรรมทางการเมือง นักธุรกิจ และกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่ชูอุดมการณ์ในทางก้าวหน้าด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เช่นชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์, พรรณิการ์ วานิช อดีตสื่อมวลชน, รังสิมันต์ โรมนักกิจกรรมที่ต่อต้าน คสช. และพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นักธุรกิจ เป็นต้น

พรรคสามัญชน

พรรคสามัญชน(ตัวย่อสช.) เป็นพรรคที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ มีที่มาจาก'ขบวนการสามัญชน'ที่ก่อรูปขึ้นตั้งแต่ปี2555 ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคและสมาชิกมาจากเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเอ็นจีโอ และผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายสาธารณะ ส่วนใหญ่ในพื้นที่ภาคอีสาน หัวหน้าพรรคคือ เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้เคลื่อนไหวเรื่องการสร้างเหมืองแร่ และมีเลขาธิการพรรค คือ กิตติชัย งามชัยพิสิฐ ผู้ริเริ่มกิจกรรมจุดเทียนเขียนสันติภาพ รณรงค์เลือกตั้งช่วงต้นปี 2557

พรรคเสรีรวมไทย

พรรคเสรีรวมไทย(ตัวย่อสร.) ภายใต้การนำของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวสอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ได้รับฉายา“วีรบุรุษนาแก”และ“มือปราบตงฉิน”มีจุดขายที่โดดเด่นคือ ข้อเสนอปฏิรูปกองทัพ เพื่อป้องกันการเกิดรัฐประหารในอนาคต

พรรคที่จุดยืนไม่ชัดเจน

พรรคการเมืองอีกจำนวนมากที่เป็นหน้าเก่าในสนามเลือกตั้ง มีฐานเสียงเข้มแข็งในบางพื้นที่อย่างชัดเจน และในการเลือกตั้งปี 2562 ก็ยังไม่เห็นความชัดเจนว่า พรรคการเมืองเหล่านี้จะเลือกอยู่ข้าง คสช. หรืออยู่ข้างที่ตรงข้ามกับ คสช.

พรรคประชาธิปัตย์

พรรคประชาธิปัตย์(ตัวย่อปชป.) พรรคขนาดใหญ่ที่เก่าแก่ที่สุดของไทย ในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ยังมี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรค แกนนำคนสำคัญ เช่น กรณ์ จาติกวณิช,องอาจ คล้ามไพบูลย์, ถาวร เสนเนียม, วรงค์ เดชกิจวิกรม ยังอยู่ครบ นอกจากนี้ พรรคประชาธิปัตย์ยังเปิดตัว“คนรุ่นใหม่”ภายใต้ชื่อ“NewDem” ที่นำทัพโดย ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ หลานชายของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, สุรบถ หลีกภัย ลูกของชวน หลีกภัย และ คนหน้าใหม่อีกหลายคน อย่างไรก็ดีหากพรรคประชาธิปัตย์ได้ที่นั่ง ส.ส. ไม่ต่างจากเป้าหมายมากนัก ก็จะเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาล     แม้ว่าหัวหน้าพรรคเคยประกาศอุดมการณ์“เสรีนิยมประชาธิปไตย”และเคยแสดงจุดยืนไม่ร่วมทางกับคสช. แต่อีกเงื่อนไขสำคัญที่พรรคประชาธิปัตย์เคยประกาศไว้ชัดเจน ก็คือ จะไม่เข้าร่วมกับพรรคเพื่อไทย

พรรคภูมิใจไทย

พรรคภูมิใจไทย(ตัวย่อภท.) เป็นพรรคการเมืองขนาดกลาง เดิมมีฐานเสียงสำคัญในพื้นที่อีสานใต้ตำแหน่งหัวหน้าพรรค คือ อนุทิน ชาญวีรกูล และมี ศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นเลขาธิการพรรค มี พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ เป็นโฆษกพรรค ในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้สมาชิกหน้าใหม่เข้าพรรคจำนวนมาก เช่น ภราดร ปริศนานันทกุล และ อาจได้เสียงสนับสนุนจากหลายจังหวัดเพิ่มเติมอีกด้วย

พรรคชาติไทยพัฒนา

พรรคชาติไทยพัฒนา(ตัวย่อชทพ.) พรรคการเมืองเดิมของ บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี การเลือกตั้งครั้งนี้มีหัวหน้าพรรคคนใหม่ คือ กัญจนาศิลปอาชา ลูกสาวของบรรหาร และมี ประภัตร โพธสุธนเป็นเลขาธิการพรรคและยังมีกลุ่มการเมือง คนดังหลายคนเข้าร่วม เช่น พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน“บิ๊กบัง”อดีตประธานคมช. อดีตหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ และกลุ่มสะสมทรัพย์ นครปฐม ที่ย้ายออกมาจากเพื่อไทย

พรรคชาติพัฒนา

พรรคชาติพัฒนา(ตัวย่อชพน.) หรือในชื่อเดิมว่ารวมชาติพัฒนา และรวมใจไทยชาติพัฒนา และชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน สมาชิกส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองหน้าเดิม มีหัวหน้าพรรค คือ เทวัญ ลิปตพัลลภ น้องชายของ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ และยังมีบุคคลสำคัญหลายคนเข้าร่วม เช่น ดล เหตระกูล หนึ่งในเครือญาติของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เป็นเลขาธิการพรรค วิว-เยาวภา บุรพลชัยอดีตนักกีฬาเทควันโดเหรียญทองแดงโอลิมปิก เป็นโฆษกพรรค

พรรคพลังท้องถิ่นไท

พรรคพลังท้องถิ่นไท(ตัวย่อพทท.) มี ชัชวาลล์ คงอุดมหรือ“ชัชเตาปูน” อดีต ส.ว. กรุงเทพมหานคร และบรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์สยามรัฐเป็นผู้ก่อตั้งในการเลือกตั้งครั้งนี้ชัชวาลล์ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรค และมี เกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง อดีต สปช. เป็นรองหัวหน้าพรรค ธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ อดีต สปช.เป็นเลขาธิการพรรค นอกจากนี้ยังมีนักการเมืองหน้าเก่า คนดัง หลายคนเข้าร่วม เช่น ชื่นชอบ คงอุดมลูกชายของ ชัชวาลล์ ซึ่งเป็นอดีต ส.ส. กทม. พรรคประชาธิปัตย์ และ รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ หรือ“ฟิล์ม”อดีตนักร้องนักแสดงชื่อดังมาเข้าร่วมด้วย

รายชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรี
ของแต่ละพรรคการเมือง

ทูลกระหม่อมหญิง
อุบลรัตน์ฯ
(กกต.ไม่รับรอง)
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
อันดับ 1
เพื่อไทย
ไทยรักษาชาติ
ประชาชาติ
พลังประชารัฐ
อนาคตใหม่
ณหทัย ทิวไผ่งาม
อันดับ 3
พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เทวัญ ลิปตพัลลภ
อันดับ 2
อนุทิน ชาญวีรกุล
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
อันดับ 1
วรรณรัตน์ ชาญนุกูล
อันดับ 3
เสรีรวมไทย
กัญจนา ศิลปอาชา
ประชาธิปัตย์
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
อันดับ 2
ชาติพัฒนา
ชัยเกษม นิติสิริ
อันดับ 3
ชัชวาลย์ คงอุดม
พลังท้องถิ่นไท
วันมูหะมัดนอร์ มะทา
อันดับ 1
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง
อันดับ 2
ภูมิใจไทย
ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม
ชาติไทยพัฒนา
บทที่ : 4
หลังเลือกตั้งยังไม่ง่าย
อ่านต่อ ⇨