บทที่ : 4
หลังเลือกตั้งยังไม่ง่าย

วิธีการเลือกนายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งที่สง่างาม

4 ฉากการเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง

ไพ่ 5 ใบสุดท้ายเพื่อเปลี่ยนผลการเลือกตั้ง

คสช. ยังอยู่กับเรา ทิ้งกับระเบิดไว้อีกเพียบ

วิธีการเลือกนายกรัฐมนตรี

รัฐธรรมนูญ 40, 50
รัฐธรรมนูญ 60
การเลือกนายกรัฐมนตรีเป็นการลงมติของ ส.ส. เท่านั้น
การเลือกนายกรัฐมนตรีเป็นการลงมติของ ส.ส. ร่วมกับ ส.ว.
ใช้คะแนนเสียงจาก ส.ส. 251 เสียงในการเลือกนายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง
ใช้คะแนนเสียงจาก ส.ส.+ส.ว. 376 เสียงในการเลือกนายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง

เงื่อนไขเพิ่มเติม

  • นายกรัฐมนตรีต้องอยู่ใน 1 ใน 3 รายชื่อ ของพรรคการเมือง โดยไม่จำเป็นต้องลงสมัคร ส.ส. ก็ได้
  • คนจะที่จะถูกเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องอยู่ในรายชื่อของพรรคที่ได้ ส.ส. 25 คนขึ้นไปและต้องได้รับการรับรอง จาก ส.ส. 50 คนขึ้นไป
  • คนที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีเสียง ส.ส.+ส.ว. รับรอง มากกว่าครึ่งหนึ่งของรัฐสภาคือ 376 จาก 750 คน
  • ส.ส.+ส.ว. 375 คนขึ้นไป ขอยกเว้น ให้เอา“คนนอก”บัญชีรายชื่อมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้โดย ส.ส.+ส.ว. 500 คน  เสนอชื่อ“นายกฯคนนอก” มาได้เลย

คสช. คัดเลือก ส.ว. 250 คนมาเลือกนายกรัฐมนตรี

รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้ในช่วงห้าปีแรก มี ส.ว. 250 คน มีที่มา 3 แบบ แม้ขั้นตอนจะซับซ้อนแต่สุดท้ายทุกรายชื่อที่จะเข้ามาเป็น ส.ว. ต้องผ่านมือของ คสช. ก่อน

ส.ว. โดยตำแหน่ง 6 คน

พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ
ปลัดกระทรวงกลาโหม
พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์
ผู้บัญชาการทหารเรือ
พล.อ.พรพิพัฒน์ เบญญศรี
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์
ผู้บัญชาการทหารบก

ส.ว. จากคณะกรรมการสรรหา 194 คน

คณะกรรมการ
คัดเลือกว่าที่ ส.ว.
400 คน
คสช. คัดเลือกให้เหลือ
194 คน
คสช. ตั้ง
‘คณะกรรมการสรรหา ส.ว’

ส.ว. จากการคัดเลือกกันเองของ 10 กลุ่มอาชีพ 50 คน

ใช้วิธีเปิดรับสมัคร
คัดเลือกกันเองในกลุ่มอาชีพในระดับอำเภอ, จังหวัด, ประเทศ
200 คน
คสช. คัดเลือกให้เหลือ
50 คน

ส.ว. 250 คน ถือเป็นจำนวนหนึ่งในสามของรัฐสภาหลังการเลือกตั้ง และจะเป็นกลุ่มก้อนหลักที่จะลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ให้ได้คนที่ คสช. ต้องการ

นายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งที่สง่างาม

นายกรัฐมนตรีที่สง่างามและมีความชอบธรรมควรมีองค์ประกอบดังนี้

นายกรัฐมนตรีเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)
แม้ว่ารัฐธรรมนูญ ไม่ได้บังคับให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. ด้วย แต่เพื่อความสง่างามก็ควรจะต้องผ่านสนามเลือกตั้ง
นายกรัฐมนตรีเป็น 1 ใน 3“รายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอไว้”
ซึ่งจะเปิดเผยให้ประชาชนรู้ก่อนการเลือกตั้งเป็นการการันตีว่า“ว่าที่นายกฯ” จะเป็นที่รับรู้และยอมรับของประชาชนที่ไปออกเสียงให้และควรจะต้องมาจากพรรคการเมืองที่ได้ที่นั่ง ส.ส. มากที่สุดด้วย
นายกรัฐมนตรีเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)
แม้รัฐธรรมนูญจะให้อำนาจ ส.ว. ร่วมเลือกนายก-รัฐมนตรีด้วย แต่ ส.ว. มาจากการคัดเลือกของคสช. จึงไม่ควรให้ ส.ว. เป็นเสียงชี้ขาด

พล.อ.ประยุทธ์กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ 3 ช่องทาง

  1. พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็น 1 ใน 3 รายชื่อในบัญชีว่าที่นายกรัฐมนตรีของพรรค
  2. พรรคพลังประชารัฐได้ ส.ส. อย่างน้อย 126 คน หรือหา ส.ส. จากพรรคอื่นมาร่วมรัฐบาลกันได้
  3. ส.ว. 250 คน ที่มาจาก คสช. + ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ 126 คน รวม 376 คนลงมติการเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี
  1. ส.ส. + ส.ว. 375 คนขึ้นไป ลงมติขอยกเว้น ให้มีนายกรัฐมนตรี ที่เป็นคนอื่นนอกจากรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอไว้ได้
  2. ส.ส. + ส.ว. 500 คน เสนอชื่อให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เป็นนายกรัฐมนตรี
  3. ส.ส. + ส.ว. 376 คนขึ้นไป ลงมติเลือก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เป็นนายกรัฐมนตรี
1. เป็นายกฯ จากบัญชีของพรรคการเมือง
2. เป็นนายกฯ คนนอก
3. เป็นนายกฯ ตั้งตัวเองด้วย ม.44
หาก คสช. ไม่พอใจกับผลการเลือกตั้งและเห็นว่า คสช.จะไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่เพื่อสืบทอดอำนาจได้ พล.อ.ประยุทธ์อาจใช้“มาตรา44” ทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และแต่งตั้งตัวเอง เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่งก็ยังได้ คล้ายกับเป็นการรัฐประหารอีกครั้งนั่นเอง

4 ฉากการเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง

คาดการณ์ว่า คสช. จะใช้กลไกต่างๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลให้ได้หลังการเลือกตั้ง แต่ตัวแปรจะขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่ง ส.ส. ที่พรรคของ คสช. และพรรคเพื่อไทยและเครือข่ายได้

คสช. สืบทอดอำนาจได้สำเร็จ

พรรคที่สนับสนุน คสช. ได้ ส.ส. ≥ 126
ที่นั่งพรรคเพื่อไทย และเครือข่าย ได้ ส.ส. < 251 ที่นั่ง
  1. พรรคของ คสช. สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้
  2. พรรคของ คสช. มีโอกาสจับมือกับพรรคอื่นร่วมกันตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้
  3. พรรคเพื่อไทยมีแนวโน้มจะเป็นฝ่ายค้านที่มีเสียงข้างน้อย
  • จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้
  • รัฐบาลผ่านกฎหมาย และงบประมาณได้
  • ฝ่ายค้านลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้
  • ประเทศเดินหน้าตามแนวทางของ คสช.
  • ประเทศมีโอกาสเดินหน้าสู่ประชาธิปไตย
1

พรรคเพื่อไทยชนะถล่มทลาย

พรรคที่สนับสนุน คสช. ได้ ส.ส. < 126
ที่นั่งพรรคเพื่อไทย และเครือข่าย ได้ ส.ส. ≥ 251 ที่นั่ง
  1. พรรคของ คสช. ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้
  2. ถ้าจะเป็นรัฐบาล พรรคของ คสช. ต้องจับมือกับพรรคอื่น และจะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย
  3. พรรคเพื่อไทยมีแนวโน้มจะเป็นฝ่ายค้านที่มีเสียงข้างมาก
  • จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้
  • รัฐบาลผ่านกฎหมาย และงบประมาณได้
  • ฝ่ายค้านลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้
  • ประเทศเดินหน้าตามแนวทางของ คสช.
  • ประเทศมีโอกาสเดินหน้าสู่ประชาธิปไตย
2

ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะ

พรรคที่สนับสนุน คสช. ได้ ส.ส. < 126
ที่นั่งพรรคเพื่อไทย และเครือข่าย ได้ ส.ส. < 251 ที่นั่ง
  1. พรรคของ คสช. ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้
  2. ถ้าจะเป็นรัฐบาล พรรคของ คสช. ต้องจับมือกับหลายพรรค
  3. พรรคร่วมรัฐบาลจะมีอำนาจต่อรองทางการเมืองสูง
  • จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้
  • รัฐบาลผ่านกฎหมาย และงบประมาณได้
  • ฝ่ายค้านลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้
  • ประเทศเดินหน้าตามแนวทางของ คสช.
  • ประเทศมีโอกาสเดินหน้าสู่ประชาธิปไตย
3

คสช. ตั้งรัฐบาล เพื่อไทยล้มรัฐบาล

พรรคที่สนับสนุน คสช. ได้ ส.ส. ≥ 126
ที่นั่งพรรคเพื่อไทย และเครือข่าย ได้ ส.ส. ≥ 251 ที่นั่ง
  1. พรรคของ คสช. สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้
  2. พรรคของ คสช. มีโอกาสจับมือกับพรรคอื่นแต่ก็เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย
  3. พรรคเพื่อไทยมีแนวโน้มจะเป็นฝ่ายค้านที่มีเสียงข้างมาก
  • จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้
  • รัฐบาลผ่านกฎหมาย และงบประมาณได้
  • ฝ่ายค้านลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้
  • ประเทศเดินหน้าตามแนวทางของ คสช.
  • ประเทศมีโอกาสเดินหน้าสู่ประชาธิปไตย
4

ไพ่ 5 ใบสุดท้ายเพื่อเปลี่ยนผลการเลือกตั้ง

หลังสิ้นสุดการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง กกต. มีเวลา 60 วัน ที่จะนับคะแนนและประกาศผลอย่างเป็นทางการ ระหว่างนี้ กกต. ที่ คสช. เลือกสรรขึ้นมา อาจใช้อำนาจที่มีเพื่อ“เขี่ย”ผู้สมัครส.ส. ของพรรคอื่นออกจาสนามการเลือกตั้งได้

กกต. อาจสั่งให้เลือกตั้งซ่อม หากพบเห็นการกระทำไม่สุจริต ก่อนหรือระหว่างการเลือกตั้ง
ศาลฎีกาอาจสั่งให้เลือกตั้งซ่อมและผู้สมัครบางคนระยะเวลาหนึ่งหากพบหลักฐานการกระทำไม่สุจริต
กกต. อาจสั่งให้เลือกตั้งซ่อมและตัดสิทธิผู้สมัครบางคน 1 ปี หากพบเห็นการกระทำไม่สุจริตก่อนหรือระหว่างการเลือกตั้ง
ศาลฎีกาอาจสั่งให้เลือกตั้งซ่อมและสั่งตัดสิทธิผู้สมัครบางคนตลอดไป หาพบหลักฐานการกระทำไม่สุจริต
ไพ่ใบสุดท้ายของ คสช. ที่สามารถใช้ทำอะไรก็ได้ รัฐธรรมนูญรับรองให้ คสช. ยังมีอำนาจมาตรา 44 ก่อน-ระหว่างและหลังการเลือกตั้ง จนกว่ารัฐบาลใหม่จะตั้งได้สำเร็จ

กกต. จะใช้ใบส้ม สั่งระงับสิทธิผู้สมัคร ส.ส. มากขึ้นในการเลือกตั้งรอบนี้ ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มและลดจำนวนที่นั่ง ส.ส. ของแต่ละพรรคได้ หากผลการเลือกตั้งออกมาสูสี และการจัดตั้งรัฐบาลต้องวัดกันด้วยที่นั่ง ส.ส. ไม่กี่ที่นั่ง อำนาจแจก“ใบส้ม”ก็อาจมีผลต่อการตั้งรัฐบาลใหม่ได้

นอกจากนี้ ด้วยระบบเลือกตั้งที่เอาคะแนน ส.ส. แบบแบ่งเขต มาคิดที่นั่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ ถ้า ส.ส. แบบแบ่งเขตโดนระงับสิทธิและให้เลือกตั้งใหม่ คะแนนที่เอาไปคำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรคนั้นก็จะหายไปด้วย ทำให้ที่นั่ง ส.ส. ของพรรคนั้นน้อยลง ขณะเดียวกันก็อาจไปเพิ่มจำนวน ส.ส. ให้พรรคคู่แข่งได้ด้วย

คสช. ยังอยู่กับเรา ทิ้งกับระเบิดไว้อีกเพียบ

ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไร ไม่ว่าฝ่ายสนับสนุน คสช. จะได้จัดตั้งรัฐบาลหรือไม่เครื่องมือต่างๆ ที่ คสช. ใช้เวลาเกือบห้าปีค่อยๆ สร้างขึ้นก็ยังจะอยู่คู่กับสังคมไทย เพื่อรองรับอำนาจแบบ คสช. ให้ยังอยู่กับเราต่อไป ตัวอย่างเช่น

รัฐธรรมนูญซึ่งร่างโดยคนที่ คสช. แต่งตั้งขึ้น จากนั้นให้ทำประชามติภายใต้บรรยากาศที่ประชาชนถูกปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น และการรณรงค์เกิดขึ้นจากภาครัฐเท่านั้น หลายมาตรา ก็ได้รับรองให้อำนาจของ คสช. อยู่กับเราต่อไป พร้อมกับวางเงื่อนไขให้แก้ไขได้ยากมาก
รัฐธรรมนูญ
2560
ยุทธศาสตร์ชาติ
20 ปี
แผนปฏิรูป
ประเทศ
มาตรฐาน
จริยธรรม
ประกาศ/
คำสั่ง คสช.
กฎหมาย
จาก สนช.
คสช. แอบร่างยุทธศาสตร์ขึ้นเองโดยประชาชนไม่มีส่วนร่วม แต่จะผูกมัดชีวิตคนไทยไปอีกถึง 20 ปี บังคับให้รัฐบาลทุกชุดต่อจากนี้ต้องทำนโยบาย และใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ไม่เช่นนั้นอาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งได้ โดยมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และส.ว. ซึ่งถูกแต่งตั้งจาก คสช. คอยกำกับ
คสช. ยังแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีก 11 ชุด ร่างแผนปฏิรูปประเทศเอาไว้ 11 ด้าน ความยาวรวมกว่า 3,000 หน้าแม้ได้รัฐบาลใหม่แล้วคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นนี้ก็ยังจะนั่งคุมเก้าอี้คอยสอดส่องหน่วยงานรัฐทุกแห่งให้ทุกคนต้องทำงานไปตามแผนที่เขียนขึ้นไว้แล้วด้วย
รัฐธรรมนูญซึ่งร่างโดยคนที่ คสช. แต่งตั้งขึ้น จากนั้นให้ทำประชามติภายใต้บรรยากาศที่ประชาชนถูกปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น และการรณรงค์เกิดขึ้นจากภาครัฐเท่านั้น หลายมาตรา ก็ได้รับรองให้อำนาจของ คสช. อยู่กับเราต่อไป พร้อมกับวางเงื่อนไขให้แก้ไขได้ยากมาก
คสช. ใช้อำนาจพิเศษและมาตรา 44 ออกประกาศ/คำสั่งของ คสช. รวมกันมากกว่า 500 ฉบับ เพื่อแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการสร้างองค์กร และมอบอำนาจให้ทำงานสนองนโยบายของ คสช. ในทุกระดับ หลายฉบับละเมิดสิทธิมนุษยชนและขัดต่อประชาธิปไตย ต่อให้มีรัฐบาลใหม่หลังเลือกตั้งประกาศ/คำสั่ง เหล่านี้ก็ยังคงใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะมีกฎหมายมายกเลิก
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ คสช. แต่งตั้งทหารข้าราชการ 250 คน เข้ามายกมือออกกฎหมายกลายเป็นตรายางผ่านกฎหมายมากกว่า 350 ฉบับ ทั้งจำกัดสิทธิประชาชน เพิ่มอำนาจราชการส่วนกลาง และอนุมัติจ่ายเงินงบประมาณ พระราชบัญญัติหลายร้อยฉบับนี้จะกลายเป็นกฎหมายที่ยุคสมัยของ คสช. ทิ้งไว้และอยู่กับเราไปอีกยาวนาน
บทสุดท้าย
นอกจากไปเข้าคูหา ประชาชนทำอะไรได้บ้าง
อ่านต่อ ⇨